(English/ภาษาไทย)
In 1997, I retreated to Tam Talay Hoy Temple in Krabi province for the Buddhist Lent. During that Phansa (three lunar months during the rainy season), I determinedly meditated without making any progress. I was in a state of being lost and being unable to find an answer. Making an attempt to consult the Buddhist scriptures (Tipitaka), I gained a lot of knowledge and yet was still not able to find the answer. My mind was in a completely obsessive state that lasted until the end of Buddhist lent.
On the day of Kathina ceremony, Luang Por Jamnian attended the ceremony without informing anyone in advance. He had visited a small temple located in a remote area upon no invitation at all, and that was my fortunate day. While I was escorting him to the restroom after the ceremony was completed, he suddenly brought up an issue about the mind—in fact, it was about my mind that was lost in a maze of undefined questions, which were not being answered. What he said enabled me to see through my own distraction, restlessness, and perplexity, and into a certain peace of mind. Those were the answers I had been seeking for a long time. As strange as it may seem, I cannot remember exactly what he said, but his words completely eliminated all my doubts within the short period of time of our thirty meters’ walk to the restroom. He explained even more Dhamma to me when I saw him off. That was the first time I met Luang Por Jamnian. In 2003, I coincidentally met him again in Houston, Texas. During that time, he spent a few days delivering his sermons until I understood and was able to detach myself from my own grief-stricken mind.
During his trips to teach Dhamma in other countries, I have had the opportunity to return my gratitude by serving Luang Por. Therefore, I have experienced and appreciated his kindheartedness, purity, and wisdom, which are so elevated as to be beyond comprehension. He has helped other people, every one of them, in an equitable manner. I have seen the persistence of his kindheartedness: how he is kind to a person from the very beginning, and remains the same over time, regardless of how that person’s beliefs might change. One of the teachings he always emphasizes is for us to love, respect, revere, and be in harmony. That is, to love the goodness in each other, to respect the goodness in each other, to revere the goodness in each other, and to be in harmony with our goodness and the goodness of others.
Luang Por teaches us the path which he also follows. He values unity and harmony, which brings him into conflict with no one. No matter which country he goes to, no matter which group he is with, he offers help and proper resolution regardless of what their beliefs may be. There are times when those who were helped did not even realize that they were being given help. This is the mode of practice he follows; he expects nothing in return for everything he does. He has said that, “If we expect something in return, we are not cultivating virtue, as we have already received the fruit of that particular deed.” Luang Por lends a helping hand to both human beings and angels, with pure intention.
I myself used to perceive Luang Por as one of those spiritual pundits who consecrate sacred objects by incantations in a way that is against the path of Buddhism. However, when I had a chance to learn and practice Dhamma according to his Dhamma techniques, I let go of my skepticism about his holy objects. They are intended to help people and to guide those who do not have a deep understanding of the nature of the power of a well-controlled mind. How does this help the world and foster faith? A small object can help a person recollect the energies of the teacher, and ease their fears, and in this way can promote trust in their own peace of mind and in the Buddha, Dhamma, and Sangha. This is why it is called a “holy object”.
Throughout my monkhood, I have had a preceptor who planted the seeds of Dhamma discipline in me, while Luang Por Jamnian is the one who has nurtured me by giving me Dhamma strategies and teachings that provide me with the consciousness and wisdom that have kept me in the holy life for this long. I cannot find the words to describe the benevolence of Luang Por Jamnian, who has given me such immense kindheartedness that has sustained my monk’s life. It is truly beyond compare. According to the Tipitaka, my preceptor is the one giving birth to me, while Luang Por Jamnian is the one nurturing me through my holy life, which is not easy to maintain. There have been many critical times that have brought me close to the edge of leaving, but I was able to adopt Luang Por’s Dhamma strategy and wisdom to keep me from falling from the edge and giving in. Sometimes, I would like to simply bow to him ten thousand times to express my gratitude in a way that might begin to show the depth of gratitude in my heart.
When he has traveled to other countries, Luang Por Jamnian has always disseminated the Buddha’s teaching everywhere he goes. In Indonesia, he has delivered sermons on almost every island and in every major city. In each city, there were a thousand people attending. There were both radio and television broadcasts. When meditation classes were conducted, there were a hundred people participating. He has been visiting and disseminating Dhamma in Malaysia and Singapore for forty years. A number of his followers have shown their firm belief and faith in Buddhism.
The first time he went to Taiwan to offer a meditation class at Chung Yuan University in the Zhongli district, there were many people attending his sermon, most of whome were professors and students. On that day, a participant asked Luang Por’s opinion of the difference between Theravada Buddhism and Mahayana Buddhism. With an attempt to ease the tension between two sides of belief, Luang Por sensibly answered that Maha means greatness. Yana means wisdom. Theravada means the doctrine of the elders. Mahayana’s followers aim at practicing to become a great wise person with omniscient wisdom, and to ultimately become a Buddha. For Theravada, it is believed that we were born to encounter Buddhism in this life to ensure good practice that can be comparable to the elders who have been enlightened and have reached Nibbana. These include Sariputta, Mogallana, Maha Kassapa, and Ananda. There is Mahayana in Theravada, and there is Theravada in Mahayana. For example, disciples like the arahant Maha Kassapa had developed their virtues to become a Buddha, but eventually withdrew from that path in order to sooner end the never-ending sufferings. There is Theravada in Mahayana because there are those who make an attempt to reach Nibbana, but become compassionate about the suffering of living creatures, and then would like to help by developing themselves to become Buddhas or the disciples of one. Therefore, both paths have the same goal, which is Nibbana. His answer was compelling to a lot of people and eased the tension between each side’s view. Luang Por Jamnian has become recognized in Taiwan since then. He has been invited to teach or deliver a sermon at many temples throughout Taiwan.
In the United States where Luang Por has been teaching Vipassana for twenty years, I have seen inspiring levels of spiritual maturity among his followers who have practiced dana, generosity, sila, wholesome conduct, and bhavana, truth contemplation, with great commitment. Even though Luang Por primarily teaches the practice aspects of the Buddha’s teaching that lead to liberation, such as the Four Foundations of Mindfulness and the Noble Eightfold Path, nevertheless, his students also practice dana, sila, and bhavana. They are mindful with their conduct and very committed to the Threefold Training to pursue higher virtue, higher concentration, and higher wisdom. In my observation, these qualities are the result of the seeds of Dhamma sprinkled by Luang Por.
I have to end my writing at this point despite the fact that there are a lot more of Luang Por Jamnian’s benevolences imprinted in my soul. I can verbally describe this better and it will be hard to finish. At this point, I would like to pay homage to Luang Por Jamnian and take his teachings to my soul and my body, as well as practice them as a token of my gratitude to his kindness on the occasion of his 80th birthday.
Phra Vutthichai “Phra Woody” Vutthiyano
Oregon Ariyamagga Okasati Refuge
Oregon, USA
Extracted from the book Illuminated by Love: Published and all right research by Mahasati Retreat Association download the PDF version here
เมล็ดพันธุ์แห่งธรรม
เมื่อปีพ.ศ. ๒๕๔๐ อาตมภาพได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดถ้ำทะเลหอย จังหวัดกระบี่ ในพรรษานั้นได้มุ่งมั่นบำเพ็ญเพียรภาวนาอย่างจริงจัง แต่รู้สึกเหมือนว่าไม่มีความก้าวหน้าเลย เป็นสภาวะที่ตั้งคำถามไม่ถูก หาคำตอบไม่ได้ พยายามหาคำตอบจากพระไตรปิฎก ก็ได้ความรู้
มากมายแต่ไม่ได้คำตอบ เป็นสภาวะที่จิตหมกมุ่นอยู่ภายใน จนกระทั่งออกพรรษา ในวันทอดกฐิน หลวงพ่อจำเนียรได้มาร่วมในงานกฐินของวัดเล็กๆ แห่งนี้ที่อยู่ในป่าห่างจากเมืองใหญ่ ซึ่งไม่มีใครรู้มาก่อนว่าท่านจะมา โดยท่านเดินทางมาเอง ไม่มีใครนิมนต์ สำหรับอาตมภาพ วันนั้นคือวันที่โชคดีอย่างยิ่งในชีวิต! หลังจากเสร็จพิธีทอดกฐิน อาตมภาพพาท่านเดินไปห้องน้ำ จู่ๆ ท่านก็พูดเรื่องจิตขึ้นมา สิ่งที่ท่านพูดนั้นคือเรื่องราวในจิตของอาตมภาพ ที่ตั้งคำถามไม่ถูก หาคำตอบไม่ได้ คำที่ท่านพูดทำให้อาตมภาพเห็นความวอกแวก ความดีดดิ้น ความงงงวย และความนิ่งของจิต และนั่นคือคำตอบที่อาตมภาพมองหามานาน อาตมภาพจำไม่ได้แน่ชัดนักในคำที่ท่านพูด แต่เป็นการไข
ข้อสงสัยได้หมดสิ้น ในระยะเวลาที่เดินไปส่งท่านเข้าห้องน้ำ ชั่วระยะทางประมาณ ๓๐ เมตรเท่านั้น และท่านได้อธิบายธรรมเพิ่มเติมให้อีกตอนที่อาตมภาพเดินไปส่งท่านขึ้นรถกลับ นี้คือครั้งแรกที่อาตมภาพได้เจอหลวงพ่อจำเนียร และในปีพ.ศ. ๒๕๔๖ ก็ได้เจอหลวงพ่ออีกครั้งด้วยความบังเอิญที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ครั้งนี้ท่านเทศน์สอนอยู่หลายวัน จนอาตมภาพเข้าใจและรู้วิธีออกจากความเศร้าหมองของจิตตัวเอง
เมื่อกลางปีพ.ศ. ๒๕๔๗ อาตมภาพได้มีโอกาสสนองคุณรับใช้ดูแลหลวงพ่อจำเนียร สีลเสฏโฐ ในช่วงเวลาเดินทางสอนธรรมในต่างประเทศ ได้เห็น ได้รู้ ได้สัมผัสถึงความเมตตา ความบริสุทธิ์ และปัญญาของหลวงพ่อที่มีมากมายจนเหนือคำบรรยาย ท่านช่วยเหลือทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน ท่านเมตตาผู้คนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย ท่านเมตตาใครในเบื้องต้นเท่าไร แม้กาลเวลาจะล่วงผ่านไปนานเท่าไร ท่านก็ยังเมตตาคนคนนั้นเท่าเดิม แม้ว่าคนผู้นั้นจะเปลี่ยนความศรัทธาไปแล้วก็ตามที คำสอนที่หลวงพ่อพูดเสมอๆ คือ รัก เคารพ บูชา สามัคคี ให้รักในความดีของกันและกัน ให้เคารพในความดีของกันและกัน ให้บูชาในความดีของกันและกัน และสามัคคีกันในความดี
หลวงพ่อสอนเราในสิ่งที่หลวงพ่อปฏิบัติอยู่ หลวงพ่อมีความสามัคคี ไม่เคยขัดแย้งกับใครๆ หลวงพ่อไปประเทศไหนๆ อยู่กับกลุ่มใดๆ ไม่ว่าจะมีความเชื่ออย่างไรก็ตาม หลวงพ่อก็ให้ความช่วยเหลือ แก้ไขในสิ่งที่ควร ซึ่งบางครั้งผู้ที่ได้รับความช่วยเหลือยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำ นี่เป็นปฏิปทาที่ท่านปฏิบัติ คือการกระทำการใดๆ โดยไม่หวังผลตอบแทน หลวงพ่อสอนว่าถ้าทำแล้วหวังผลตอบแทน เราจะไม่ได้บารมีเต็มที่ เพราะรับเอาผลของการกระทำนั้นๆ ไปแล้ว หลวงพ่อเป็นผู้เกื้อกูลทั้งมนุษย์และเทวดาด้วยความบริสุทธิ์ใจจริงๆ
อาตมภาพเองก็เคยเข้าใจหลวงพ่อว่า เป็นเกจิอาจารย์ประเภทเสกของ ทำวัตถุมงคล ซึ่งมิได้ถูกทางตามหลักของพระพุทธศาสนา แต่เมื่อได้รู้จักท่าน ได้ฟังธรรม ได้ปฏิบัติธรรมตามแนวทางอุบายธรรมที่ท่านสอนแล้ว จึงได้สิ้นสงสัยในเรื่องวัตถุมงคลที่ท่านเสกเพื่อเกื้อกูลโลก เสกให้กับผู้ที่มีศรัทธาไม่เข้มแข็ง ให้เข้าใจเรื่องอานุภาพของจิตที่ฝึกดีแล้ว ว่าสามารถเกื้อกูลโลกและประคับประคองศรัทธาปสาทะของสัตว์โลกผู้หลงได้อย่างไร วัตถุหนึ่งชิ้นเล็กทำให้คนเชื่อ ทำให้คนเอาจิตไปผูกไว้แล้วลดความกลัวลงได้ ลดความลังเล ช่วยให้ความมั่นใจกลับมา ช่วยให้คนน้อมถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ได้ ด้วยเหตุนี้จึงเรียกว่า วัตถุมงคล
ชีวิตของอาตมภาพได้บวชเป็นพระภิกษุ ก็มีพระอุปัชฌาย์ เป็นผู้ให้กำเนิดชีวิตในพระธรรมวินัยนี้ หลวงพ่อจำเนียรคือผู้ให้การเกื้อกูลเลี้ยงดู โดยให้อุบายธรรม ให้สติปัญญา จนอาตมภาพมีชีวิตในพรหมจรรย์ได้ยาวนานมาถึงวันนี้ อาตมภาพไม่สามารถจะหาคำมาพรรณนาพระคุณของหลวงพ่อที่ให้เมตตา เกื้อกูลชีวิตอาตมภาพได้หมด เหนือคำบรรยายจริงๆ ถ้าพูดแบบสำนวนพระไตรปิฎก พระอุปัชฌาย์คือผู้ให้กำเนิด หลวงพ่อจำเนียรคือแม่นมเลี้ยงดูให้เติบโต ชีวิตพรหมจรรย์ไม่ได้อยู่ง่ายนัก วิกฤติชีวิตนี้ที่อยู่ใกล้ๆ ปากเหว มีอยู่หลายวาระ ก็ได้อาศัยอุบายธรรม และปัญญาของหลวงพ่อช่วยเหลือไม่ให้ตกเหวไปเป็นคนพ่ายแพ้ บางครั้งในความรู้สึก อยากกราบหลวงพ่อสักหมื่นๆ ครั้ง เพื่อแสดงออกให้สมแก่ใจตนเอง
ในการเดินทางไปต่างประเทศของหลวงพ่อจำเนียร ท่านเผยแผ่พระธรรมคำสอนของพระศาสดาในทุกประเทศที่ไป ในประเทศอินโดนิเซีย ท่านได้ไปเทศน์เกือบทุกเกาะ ทุกเมืองใหญ่ๆ แต่ละเมืองมีคนฟังธรรมเป็นพันคน มีการถ่ายทอดสดทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ เมื่อจัดสอนกรรมฐาน คนก็สนใจเข้าปฏิบัติเป็นร้อย ในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ก็เช่นกัน หลวงพ่อได้ไปเผยแผ่มาเป็นเวลา ๔๐ ปีแล้ว ไปต่อเนื่องไม่เคยขาด มีลูกศิษย์มากมายที่มีความศรัทธามั่นคงในพระพุทธ-ศาสนา ในประเทศไต้หวันเมื่อหลวงพ่อไปสอนวิปัสสนากรรมฐานครั้งแรก ได้จัดเทศน์ที่มหาวิทยาลัยจงยาง เมืองจงลี่ ผู้ฟังส่วนมากเป็นศาสตราจารย์ ดอกเตอร์ และนักศึกษา ในวันนั้นมีผู้ถามคำถามที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งกันระหว่าง ๒ ลัทธิ คือนิกายเถรวาท กับนิกายมหายาน
หลวงพ่อจำเนียรใช้ปัญญาตอบแบบไม่ให้เกิดความขัดแย้งกันทางทิฏฐิอีกต่อไปว่า มหาแปลว่ายิ่งใหญ่ ยาน อาจหมายถึง ญาณ แปลว่า ผู้รู้ ความรู้ ส่วนเถรวาท แปลว่า วาทะของพระเถระ ผู้ปฏิบัติตามนิกายมหายาน คือจะปฏิบัติให้ตนเป็นผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ มีญาณที่รู้แจ้งอันยิ่งใหญ่ ได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต หรือเป็นสาวกผู้เป็นเลิศของพระพุทธเจ้าในอนาคต นี่คือเป้าหมายของการปฏิบัติในแบบมหายาน คือเพื่อพระนิพพานในท้ายที่สุด ส่วนทางเถรวาท คือเราได้เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาตินี้แล้ว จะปฏิบัติให้ได้ดีเท่ากับพระเถระทั้งหลายที่ได้บรรลุธรรมแล้ว ได้ถึงพระนิพพานแล้ว ดังเช่น พระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระมหากัสปะ พระอานนท์ เป็นต้น เราจะปฏิบัติให้ถึงนิพพานตามท่านเหล่านั้น แต่ก็ในมหายานมีเถรวาท คือผู้ที่สร้างบารมีเพื่อจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต แต่ได้ลาพุทธภูมิเอาความพ้นทุกข์ในชาตินี้เสียดีกว่า เกิดไปทุกข์ไม่สิ้นสุด เช่น พระมหากัสปะ และในเถรวาทก็มีมหายาน คือผู้ปฏิบัติทำความเพียรเพื่อพระนิพพาน แต่ปฏิบัติได้เกิดเห็นธรรม เกิดความเมตตาสัตว์โลกผู้มีทุกข์มาก จึงอยากจะช่วยสัตว์โลกก็ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าบ้าง เป็นพระสาวกบ้าง เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะมหายาน หรือเถรวาท ต่างก็มีเป้าหมายคือพระนิพพานเหมือนกัน คำตอบของหลวงพ่อในที่ประชุมในวันนั้น คือการเปิดโลกทัศน์ ทำลายทิฏฐิของกันและกันลงได้อย่างกลมกลืน ตั้งแต่วันนั้น บัณฑิตทั้งหลายในไต้หวันเริ่มยอมรับหลวงพ่อ
จำเนียร ได้นิมนต์หลวงพ่อไปสอนตามวัดต่างๆ เกือบทั่วประเทศไต้หวัน
ในประเทศสหรัฐอเมริกา หลวงพ่อเดินทางมาสอนวิปัสสนาร่วม ๒๐ ปี อาตมาได้เห็นภูมิธรรมของลูกศิษย์ของหลวงพ่อ มีการปฏิบัติ ทาน ศีล ภาวนา กันอย่างเข้มแข็งมาก ซึ่งหลวงพ่อไม่ได้เน้นสอนการให้ทาน ไม่ได้เน้นสอนการรักษาศีล หลวงพ่อเน้นสอนแต่การปฏิบัติสติปัฏฐาน ๔ มรรคมีองค์ ๘ สอนแต่การปฏิบัติเพื่อมรรค เพื่อผลเท่านั้น แต่ผลที่ได้คือ ลูกศิษย์ของหลวงพ่อทุกคน รู้จักการทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนาเป็นอย่างดี และจริงจังกับการปฏิบัติ ศีล สมาธิ และปัญญา นี่คือเมล็ดพันธุ์แห่งธรรมที่หลวงพ่อได้โปรยไว้ ตามที่อาตมาได้เห็นประจักษ์ในบัดนี้
ในปีพ.ศ. ๒๕๔๘ หลวงพ่อสอนการปฏิบัติกรรมฐานเป็นเวลา ๑๒ วัน ซึ่งอาตมภาพประทับใจมาก โดยหลวงพ่อได้ย่อธรรม และขยายธรรม จาก ๑ ข้อธรรมถึง ๑๒ ข้อธรรม ทั้งแบบย่อและขยายอย่างพิสดารเป็นที่น่าอัศจรรย์ใจนัก เพราะครบถ้วนทั้ง อรรถะและพยัญชนะ และปีนั้นเอง เป็นปีที่หลวงพ่อดำริให้สร้างภาพสอนธรรมเรื่องทางสายกลาง อาตมภาพรับแนวทางมาทำให้เป็นรูปธรรม โดยมีลูกศิษย์ของท่าน ๓ คนช่วยกันวาด ช่วยกันทำ ในขณะที่ทำนั้น อาตมภาพเกิดความเข้าใจในธรรมะของพระพุทธเจ้าหลายแง่หลายมุม รูปทางสายกลางนั้น ทำให้มองเห็นเชื่อมโยงกับธรรมะของพระพุทธเจ้าอีกมากมาย ในจำนวน ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เห็นเส้นทางร่องรอยของการปฏิบัติธรรมที่เป็นจริงจากของจริง อาตมภาพมองย้อนเห็นว่าตนเองนั้น ได้ปัญญาจากงานที่ท่านมอบหมายให้ดูแล จึงยินดีอย่างล้นพ้นที่จะรับใช้ครูบาอาจารย์เช่นนี้เรื่อยไป
อาตมภาพคือผู้มามืดในเบื้องต้น แต่เมื่อได้เจอหลวงพ่อ ได้ติดตามอุปัฏฐากรับใช้ จึงได้รับความสว่างใจ ได้เห็นธรรมที่งดงาม ที่หลวงพ่อเข้าถึงแล้ว ที่ท่านปฏิบัติได้แล้ว ถ่ายทอดออกมาแล้ว งดงามทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด
อาตมภาพคงบอกเล่าทางตัวอักษรได้เพียงเท่านี้ แต่พระคุณของหลวงพ่อจำเนียรที่ประจักษ์อยู่ในกองสัญญาขันธ์จับจิตจับใจของอาตมภาพนั้น ยังมีอีกมากมายเหลือเกิน ถ้าจะให้พูดด้วยปากอาตมภาพคงถนัดกว่ามาก และก็คงจะจบยากด้วย จึงขอจบคำรบนี้
ขอน้อมกราบแทบเท้าหลวงพ่อจำเนียร และน้อมเอาธรรมะที่ท่านสอนมาใส่กายใจ และปฏิบัติตอบแทนพระคุณท่าน บูชาพระคุณท่าน ในวาระฉลองอายุวัฒนมงคลครบ ๘๐ ปี
พระวุฒิชัย วุฒิญาโณ (พระวู้ดดี้)
สำนักปฏิบัติธรรมอริยมรรคออริกอน
ออริกอน, สหรัฐอเมริกา
จากหนังสือแสงธรรมจากหลวงพ่อ จัดพิมพ์และสงวนลิขสิทธิ์โดยสมาคมมหาสติ: ดาวโหลดหนังสือภาษาไทยในรูปแบบ PDF ได้ที่นี่